ศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญ (constitutional court) เป็นศาลสูงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีอำนาจหลักที่จะวินิจฉัยว่า กฎหมายใดมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่น ขัดกับสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้หรือไม่ ในหลาย ๆ ประเทศ ไม่จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นเอกเทศ และศาลยุติธรรมตามธรรมดาจะรับคดีดังกล่าวเอง นอกจากนี้ ในหลาย ๆ ประเทศก็ไม่เรียกองค์กรนี้ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” และบางประเทศก็เรียกศาลยุติธรรมว่า ศาลรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาได้ชื่อว่าเป็น “ศาลรัฐธรรมนูญที่เก่าแก่ที่สุดในโลก” เพราะเป็นศาลแรกในโลกที่วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายต่าง ๆ (คดีระหว่างมาร์บิวรีกับเมดิสัน) แม้ว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะก็ตาม ส่วนประเทศที่สถาปนาศาลรัฐธรรมนูญอย่างเอกเทศเป็นแห่งแรกของโลกนั้น คือ ประเทศออสเตรีย ซึ่งดำเนินการใน ค.ศ. 1920 แม้ว่าจะถูกเลื่อนไปในราว ๆ ค.ศ. 1934 ถึง 1945 ตามรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งศาลนั้น อนึ่ง ก่อนหน้านี้ มีเพียงสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียเท่านั้นที่รับเอาทฤษฎีการทบทวนโดยฝ่ายตุลาการมาใช้ในศาลสูงสุดของประเทศตน 

องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 204 กําหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 8 คน รวมเป็น 9 คน ซึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา

ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

1.ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธี ลงคะแนนลับ จํานวน 3 คน 

2.ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับจํานวน 2 คน 

3.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้าน นิติศาสตร์ อย่างแท้จริง จํานวน 2 คน 

4.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่าง แท้จริง จํานวน 2 คน อํานาจหน้าที่

อํานาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กําหนดให้ศาศ รัฐธรรมนูญมีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจ แบ่งได้เป็น 9 ประการคือ 

  1. การวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างกฎหมาย และ ร่างข้อบังคับการประชุมของฝายนิติบัญญัติก่อนที่จะประกาศใช้บังคับมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 
  2. การวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ ประกาศใช้บังคับแล้วมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 
  3. การวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของเงื่อนไขการตรา พระราชกําหนดมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
  4. การวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือ กรรมาธิการ กระทําการใดเพื่อให้ตนมีส่วนโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้ งบประมาณรายจ่าย หรือไม่ 
  5. การวินิจฉัยปญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สอง องค์กรขึ้นไป 
  6. การวินิจฉัยมติหรือข้อบังคับของพรรคการเมือง การพิจารณา อุทธรณ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการวินิจฉัยกรณีบุคคลหรือพรรค การเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพในทางการเมืองโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
  7. การวินิจฉัยสมาชิกภาพหรือคุณสมบัติของสมาชิกรัฐสภา รัฐมนตรี และกรรมการการเลือกตั้ง 
  8. การวินิจฉัยหนังสือสนธิสัญญาใดต้องได้รับความ เห็นชอบจากรัฐสภาก่อนหรือไม่ 
  9. อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550